





By KrooRungniran
บทเรียนที่ 1 ( 1 คาบ)การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

นางสาวรุ่งนิรันดร์ คัดชารัตน์
ครูชำนาญการ
โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และสามารถใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสาร (communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่ง ไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้ข้อมูลจะอยู่ในรูปเลขฐานสอง ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถทำงานได้
การสื่อสารข้อมูล (data communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบเลขฐานสอง ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อติดต่อ และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทาง
กับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท
ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม
โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี
หน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ใน
รูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data)
จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือ
คอมพิวเตอร์ปลายทาง


องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่ง เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็น
บุคคลหรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
2. ข้อมูลข่าวสาร เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง ข้อความหรือภาพ เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
3. สื่อกลาง หรือช่องทางการสื่อสาร เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้
* สายสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น
* คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นแสง คลื่นอินฟราเรด
* อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ เช่น เสาอากาศวิทยุ เสาอากาศโทรศัพท์ ดาวเทียม โมเด็ม
4. ผู้รับ เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง ซึ่งส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น
การที่จะส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ และต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ที่มา : https://chalad.wordpress.com/subject/31241-2/31241-lesson-3/
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลและ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

ถ้าในหนึ่งวันห้ามนักเรียนพูดกับใคร....
นักเรียนจะมีวิธีการสื่อสารในรูปแบบใดได้บ้าง?



แบบทดสอบความพร้อม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
แบบทดสอบก่อนเรียน
บทเรียนที่ 1
บทเรียนที่ 2
บทเรียนที่ 3
บทเรียนที่ 4
บทเรียนที่ 5
บทเรียนที่ 6
บทเรียนที่ 7
บทเรียนที่ 8
บทเรียนที่ 9
แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
แบบทดสอบก่อนเรียน
บทเรียนที่ 10
บทเรียนที่ 11
บทเรียนที่ 12
บทเรียนที่ 13
บทเรียนที่ 14
บทเรียนที่ 15
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบวัดผลสัมฤทธิ์
